วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ.2559 

 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค



วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

หน่วย ไข่



กิจกรรมที่ สารอาหารจากไข่

STEM & STEAM
Science (วิทยาศาสตร์)

แนวคิด
เรียนรู้ประโยชน์จากไข่ให้สารอาหารแก่ร่างกายคือ โปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย

วิธีการเรียนรู้
  • นำไข่สดมาให้เด็กสังเกต รูปร่าง ลักษณะ สี แล้วนำมาตอกใส่ถ้วย
  • นำไข่ไปต้ม แล้วปอกเปลือกใส่ถ้วยไว้
  • นำไข่ที่ต้มมาให้เด็กรับประทาน แล้วบอกประโยชน์ของไข่ให้เด็กฟังว่ามีสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย 

กิจกรรมที่ 2 แปลงโฉมเป็นไข่เค็ม

STEM & STEAM
Technology (เทคโนโลยี)
Science (วิทยาศาสตร์)

แนวคิด
ไข่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน นำมาพัฒนาเป็นไข่เค็มทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นและเป็นการสร้างมูลค่าของไข่ให้มีคุณค่ามากขึ้น

วิธีการเรียนรู้
  • ล้างไข่เป็ดให้สะอาด สะเด็ดน้ำจนแห้งสนิท ใส่ลงในโหลแก้ว เตรียมไว้
  • ทำน้ำเกลือสำหรับดองไข่ โดยใส่เกลือกับน้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด และคนให้เกลือละลายจนหมด ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
  • เทน้ำเกลือที่เย็นแล้วลงในโหลไข่จนท่วมไข่ จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำวางทับลงไปให้ไข่เป็ดจมอยู่ใต้น้ำ ตลอดเวลา ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 2-3 อาทิตย์ สำหรับทำไข่ดาว เก็บไว้นานประมาณ 2 อาทิตย์ สำหรับทำไข่ต้ม เก็บไว้นานประมาณ 3 อาทิตย์
  • นำไข่เค็มที่กินได้เอา มาให้เด็กชิม



กิจกรรมที่ 3 โมบายหรรษา

STEM & STEAM
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
Science (วิทยาศาสตร์)
Art  (ศิลปะ)

แนวคิด
การประดิษฐ์โมบาย เป็นการออกแบบชิ้นงาน อย่างสร้างสรรค์ด้วยการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรงโน้มถ่วง

วิธีการเรียนรู้
  • นำเปลือกไข่มาตกแต่งให้สวยงาม
  • เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ เชือก  ลวด  กระดาษสี กาว และอุปกรณ์ตกแต่ง
  • นำมาร้อยเป็นเส้น จำนวน 3 เส้น ให้มีความสมดุลกัน 


กิจกรรมที่ 4 รูปร่างของฉันสวย

STEM & STEAM
Mathematic (คณิตศาสตร์)

แนวคิด
ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในด้านจำนวน รูปทรง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิธีการเรียนรู้
  • นำไข่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง  ลักษณะ  สี
  • นำไข่หลายๆใบ ใส่ในตะกร้า แล้วนับเพิ่มทีละใบ นับลดทีละใบ จนครบ 


กิจกรรมที่ 5 ขยับกายกับไข่น้อย

ใช้เพลง แม่ไก่ออกไข่
STEM & STEAM
Language  (ภาษา)
Music  (ดนตรี)

แนวคิด
การร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลงเคลื่อนไหวตามจังหวะ ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่างกายแข็งแรง

วิธีการเรียนรู้
  • ครูร้องเพลงให้เด็กฟัง
  • ให้เด็กร้องตาม
  • ครูทำท่าทางประกอบเพลง
  • เด็กร้องเพลงตามและทำท่าทางประกอบเลียนแบบครู
  • เด็กทำท่าทางตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์ 

กิจกรรมที่ 6 ประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุก

STEM & STEAM
Art  (ศิลปะ)
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
Technology (เทคโนโลยี)

แนวคิด
การออกแบบชิ้นงานที่ทำจากเปลือกไข่ มีการวางแผนในการพัฒนาจากเปลือกไข่ให้มีความน่าสนใจ มีศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการที่เกิดขึ้น

วิธีการเรียนรู้
  • เตรียมอุปกรณ์ คือ กระดาษสี  กรรไกร  กาว  ไหมพรม และอุปกรณ์ตกแต่ง
  • นำเปลือกไข่ที่ทำความสะอาดแล้วมาออกแบบประดิษฐ์ผลงาน
  • ประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุกตามจินตนาการ



วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2559 

 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

อาจารย์ให้งานไว้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้ " หน่วยไข่ "





วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียนเรื่อง  STEM / STEAM Education



ก่อนเริ่มการเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาทบทวนเพลงภาษาอังกฤษและช่วยกันร้อง โดยวันนี้อาจารย์สอนทั้งสองกลุ่มรวมกัน 




 (เพื่อนๆเต้นเพลงผีเสื้อกันน่ารักเชียว)


STEM” คืออะไร  (ชลาธิป สมาหิโต: 2557)
• เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
• นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
• เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

STEM Education (สะเต็มศึกษา)
• Science
• Technology
• Engineering
• Mathematics




Science (วิทยาศาสตร์)
• การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
• เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology (เทคโนโลยี
• วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
• สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
• ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกรกบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
• ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
• กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
• ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematic (คณิตศาสตร์)
• วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
• เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
• ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
• เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย

 “STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
• STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
• การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
• ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น









กิจกรรมแรก อาจารย์ให้นำอุปกรณ์ที่แจกมาทำเป็นรูปผีเสื้อตามจินตนาการของกลุ่มตนเองพร้อมตกแต่งให้สวยงาม
อุปกรณ์มีดังนี้
  • สีเทียน
  • จานกระดาษ
  • ไม้ไอติม










ผีเสื้อน้อย ของกลุ่มดิฉัน >.<


กิจกรรมที่สอง อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างกรงผีเสื้อจากกิ่งไม้ที่นักศึกษาเตรียมมา ตามจินตนาการพร้อมตกแต่งให้สวยงาม
















กรงผีเสื้อน้อย ของกลุ่มดิฉัน >.<



กิจกรรมสุดท้ายคือ อาจารย์ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมันเกี่ยวกับวงจรชีวิตของผีเสื้อ พร้อมตัดต่อคลิปวีดีโอวงจรชีวิตของผีเสื้อ






วงจรชีวิตของผีเสื้อน้อย 


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
- การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น